หญ้าข้าวนก หญ้าพุ่มพวง

Last updated: 20 ก.พ. 2566  |  20052 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หญ้าข้าวนก หญ้าพุ่มพวง

ข้อแตกต่างระหว่าง #หญ้าข้าวนก หรือ #หญ้าพุ่มพวง และ #ต้นข้าว
#หญ้าข้าวนก หรือ #หญ้าพุ่มพวง (barnyard grass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Echinochloa crus-galli (L.) Beauv. จัดเป็นวัชพืชสำคัญในนาข้าว ลักษณะคล้ายต้นข้าวมาก พบมากในพื้นที่ลุ่ม ชอบขึ้นในสภาพพื้นที่ชื้นแฉะ หรือมีสภาพน้ำขัง สามารถงอกใต้น้ำได้ลึก 1-2 เซนติเมตร และเติบโตได้ทุกสภาพดิน



ข้อแตกต่างของหญ้าข้าวนก และต้นข้าว

1.เยื่อกั้นน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างใบ และกาบใบ หญ้าข้าวนกไม่มีเยื่อนี้ ส่วนต้นข้าวจะมีเยื่อกั้นน้ำ

2. #หญ้าข้าวนก บริเวณโคนกาบหุ้ม และโคนข้อจะมีสีม่วงแต้ม ส่วนต้นข้าวไม่มี

3.เมื่อถึงระยะออกดอกหญ้าข้าวนก จะสูงกว่าต้นข้าว ชูช่อดอกสูงเด่นกว่าต้นข้าว และออกดอกก่อนต้นข้าว

4.ใบหญ้าข้าวนกจะแคบสอบ และเรียวยาวกว่าใบของต้นข้าว



การป้องกันกำจัด

1.ล่อให้งอกโดยขังน้ำในนา 3-7 วัน แล้วระบายน้ำออกทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ เมล็ดจะงอกขึ้นมาจำนวนมาก ให้ไถกลบทำลายต้นอ่อน

2.หลังข้าวงอกแล้ว 7 วัน ให้ขังน้ำลึกกว่า 2 เซนติเมตร จะสามารถควบคุมไม่ให้หญ้าข้าวนกงอกขึ้นมาได้ แต่ต้นที่งอกขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วจะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

3.การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช

แบบก่อนวัชพืชงอก ระยะ 0-4 วันหลังหว่านข้าว เช่น บิวทาคลอร์ (มิชเชล),  เพรทิลาคลอร์ (ดารานิว), เพนดิเมทาลิน (เรดด็อกคุม)

แบบหลังวัชพืชงอกระยะแรก 7-12 วันหลังหว่านข้าว เช่น ควินคลอแรก+เบนซัลฟูรอน เมทิล (บีคิว), บิวทาคลอร์+โพรพานิล (ดาราม็อกซ์ 700), 2,4-ดี-บิวทิว+บิวทาคลอร์ (ดาราท็อก เอ็กซ์), บีสไพรีแบก-โซเดียม (อัลโน่ 20)

แบบหลังวัชพืชงอก 20 วันขึ้นไป เช่น ควินคลอแรก+เบนซัลฟูรอน เมทิล (บีคิว)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้