โรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน

Last updated: 20 ก.พ. 2566  |  7905 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน

#โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora

ลักษณะอาการที่เกิดจากเชื้อรา

#ใบทุเรียน
ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน
และเปลี่ยนเป็นสีดำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ เกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่าง
รวดเร็วแล้วค่อย ๆ ร่วงไป

#อาการที่ลำต้นเเละกิ่งทุเรียน
โคนต้นพบเเผลเน่าสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เเละอาจพบเมือกสีน้ำตาลอมแดง
ไหลเยิ้มบริเวณแผล หากไม่รักษาแผลจะลุกลาม รอบโคนต้น
ทำให้ทุเรียนยืนต้นตาย

การแพร่ระบาด #โรครากเน่า #โคนเน่าในทุเรียน

เชื้อรานี้อาศัยอยู่ในดิน มีสปอร์เป็นส่วนขยายพันธุ์ ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ที่แห้งแล้งได้ดี เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม หรือ มีอาหารเพียงพอ สปอร์นี้
จะงอกและ สร้างเส้นใยเข้าไปในรากพืชและเจริญพัฒนาสร้างเส้นใยขยาย
ตัวภายในพืชทำให้รากเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อรากเน่ามากใบทุเรียนที่ปลาย
กิ่งจะเหลืองซีด ชะงักการเจริญและร่วงในที่สุด

วิธีการการป้องกันกำจัดโรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน
#บำรุงต้นทุเรียนให้แข็งแรง
#เมื่อพบส่วนที่เป็นโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและนำออกไปเผาทำลาย
#ทำร่องระบายน้ำในส่วนที่เป็นพ้นที่ต่ำ ป้องกันการเกิดน้ำท่วมขัง
#ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช

ใช้ซีเลน+ซีกั้ม

ซีเลน 20 CC + ซีกั้ม 50 g
ผสมน้ำ 2 ลิตร
ทาต้นบริเวณที่เกิดเเผล

ซีเลน 20 CC + ซีกั้ม 50 g
ผสมน้ำ 20 ลิตร
พ่นลำต้นเเละใบ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้